👉 วิธีการยื่นการนำส่งเงินรายปีเข้ากองทุนวิจัยและพัฒนาฯ และแบบฟอร์ม 👈

โปรดระวังการโอนเงินเข้าผิดบัญชี (คลิกเพื่อดูรายละเอียด)!!!!!

สามารถเข้าใช้ระบบนำส่งเงินรายปีเข้ากองทุนวิจัยและพัฒนาฯ  ได้ที่ https://psobroadcast.nbtc.go.th
ประกาศ การนำส่งเงินรายปีฯ ของผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการที่ได้รับผล กระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2564/E/115/T_0015.PDF

 

สำนักพัฒนาองค์กรวิชาชีพและส่งเสริมการบริการทั่วถึง (ชส.)

(Professional Broadcasting Institution Development and Universal Service Bureau)

มีขอบเขตหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริมการรวมกลุ่มขอผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการ ผู้ผลิตรายการ และผู้ประกอบวิชาชีพสื่อสารมวลชน ส่งเสริมให้มีการพัฒนาองค์กรวิชาชีพรวมทั้งกำหนดแนวทาง มาตรการส่งเสริมสิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของประชาชนในการเข้าถึง ตลอดจนปฏิบัติงานอื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย

  1. ส่วนส่งเสริมความร่วมมือและภาคีเครือข่าย
  2. ส่วนพัฒนาองค์กรวิชาชีพ
  3. ส่วนส่งเสริมการบริการอย่างทั่วถึง
  4. ส่วนเรียกเก็บค่าธรรมเนียมเพื่อการบริการอย่างทั่วถึง
  5. ส่วนระบบข้อมูล และอำนวยการ

 

pso_photo

ประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง แผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2563 – 2568)

ภารกิจตามยุทธศาสตร์

ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนากิจการโทรทัศน์ของประเทศให้เหมาะสมกับบริบทใหม่

การพัฒนากิจการโทรทัศน์ของประเทศให้เหมาะสมกับบริบทที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อให้สามารถกำกับดูแลได้สอดคล้องกับระบบนิเวศของอุตสาหกรรม โดยคำนึงถึงการใช้ทรัพยากรในกิจการโทรทัศน์อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด และยกระดับมาตรฐานกิจการโทรทัศน์ให้เป็นที่ยอมรับ

แนวทางการดำเนินงาน

  1. สร้างความเข้าใจและความร่วมมือกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
  2. ส่งเสริมการยกระดับมาตรฐานขององค์กรวิชาชีพ
  3. สร้างความเข้าใจกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้องถึงความจำเป็นในการดาเนินมาตรการที่จะนาไปสู่การยกระดับมาตรฐานกิจการโทรทัศน์
  4. พัฒนามาตรการเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบกิจการโทรทัศน์ที่ได้มาตรฐาน
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การกำกับดูแลด้านเนื้อหา การคุ้มครองผู้บริโภค และการส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของประชาชน

การกำกับดูแลด้านเนื้อหาให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและเทคโนโลยี มุ่งเน้นไปสู่การพัฒนาและสร้างกลไกในการกำกับดูแลด้านเนื้อหาให้มีประสิทธิภาพ ตลอดจนมีการส่งเสริมสนับสนุนเนื้อหาที่มีคุณภาพ สร้างสรรค์ หลากหลาย และเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะให้มากยิ่งขึ้น มีการคุ้มครองผู้บริโภคมิให้ถูกเอาเปรียบและได้รับบริการอย่างเป็นธรรม มีการบริหารจัดการเรื่องร้องเรียนที่มีประสิทธิภาพส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของประชาชนให้สามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากข้อมูลข่าวสารที่หลากหลายได้อย่างเท่าเทียม รวมทั้งผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนสามารถทาหน้าที่ตามจริยธรรมแห่งวิชาชีพของตนได้อย่างเต็มที่

แนวทางการดำเนินงาน

  1. การให้ความรู้ สร้างความเข้าใจ และสนับสนุนให้มีการผลิตเนื้อหาที่มีคุณภาพ สร้างสรรค์ หลากหลาย และเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ
  2. จัดทาแผนสนับสนุนการเข้าถึงบริการด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ที่กำหนดประเภทบริการต่างๆ ที่สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน
  3. สนับสนุนการให้ทุนเพื่อการวิจัยและพัฒนาการเข้าถึงและใช้ประโยชน์สื่อผู้พิการ ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส ผ่านกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ
  4. สนับสนุนการดำเนินการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์การเผยแพร่รายการโทรทัศน์สาคัญที่ให้เผยแพร่ได้เฉพาะในบริการโทรทัศน์ที่เป็นการทั่วไป
ยุทธศาสตร์ที่ 4 การให้บริการและการกากับดูแลที่มุ่งสู่ความเป็นดิจิทัล

การให้บริการและการกำกับดูแลที่มุ่งสู่ความเป็นดิจิทัล มีการใช้ระบบการอนุญาตบนพื้นฐานของการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการกากับดูแลให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

แนวทางการดำเนินงาน

  1. มีผู้รับผิดชอบที่เหมาะสมในการจัดทำฐานข้อมูลกลาง
  2. มีระเบียบสานักงาน กสทช. เพื่อรองรับการใช้งานระบบฐานข้อมูลกลาง และมาตรการรักษาความปลอดภัย
  3. ศึกษา วิเคราะห์ กำหนดแนวทาง เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรให้เหมาะสม สอดคล้องกับแนวทางที่มุ่งสู่ความเป็นดิจิทัล
  4. ส่งเสริมผู้เกี่ยวข้องให้สามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากระบบอนุญาตและฐานข้อมูลในรูปแบบดิจิทัล